วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

โรงเรียนในดวงใจของฉัน


โรงเรียนทุ่งสง

ได้ก่อตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2486 โดยอาศัยโรงธรรมศาลาในบริเวณวัดชัยชุมพลเป็นสถานที่เรียน โดยมีนายสิริ รัตนรัต ทำหน้าที่เป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมาได้ย้ายมาขอใช้สถานที่ราชพัสดุ ติดกับโรงเรียนวัดชัยชุมพล เป็นสถานที่ก่อตั้งโรงเรียน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2490 โรงเรียนจึงได้จัดงบประมาณจากทางราชการให้สร้างอาคารเรียนถาวรที่ราชพัสดุ ในเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน โดยในระยะแรกเปิดรับสมัครนักเรียนทั้งชายและหญิงเข้าเรียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2501จึงได้แยกนักเรียนหญิงออกไปตั้งเป็นโรงเรียนสตรีทุ่งสง จากความคับแคบของเนื้อที่โรงเรียน ทำให้ไม่สามารถขยายอาคารสถานที่ให้พอเพียงกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนในสมัยนั้นได้ดำริที่จะย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนในปี พ.ศ. 2512 นายพินิจ นุ่นพันธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนทุ่งสงในสมัยนั้น จึงได้ดำเนินเรื่องขอให้ที่ดินราชพัสดุบริเวณกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 8 เป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนแห่งใหม่ ทางราชการได้อนุมัติ และดำเนินการจัดสร้างอาคารประกอบขึ้นในปี พ.ศ. 2513 แล้วเสร็จ จึงเปิดให้นักเรียนเข้าเรียนในสถานที่แห่งใหม่นั้น เมื่อปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา ถือว่าได้เป็นยุคใหม่ของโรงเรียน โดยมีลำดับขั้นของการพัฒนา ดังนี้
  • พ.ศ. 2517 กระทรวงศึกษาธิการได้คัดเลือกให้โรงเรียนทุ่งสง เข้าอยู่ในโครงการโรงเรียนมัธยมแบบผสมในส่วนภูมิภาค (ค.ม.ภ.1) รุ่นที่ 2 โดยเริ่มโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2518 และสิ้นสุดโครงการเมื่อปี พ.ศ. 2521
  • พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งในระยะแรกเปิดสอนเพียง 2 ห้องเรียนต่อระดับชั้น และได้เปิดเพิ่มเป็น 8 ห้องเรียนต่อระดับชั้น ในระยะเวลาต่อมา
  • พ.ศ. 2524 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนดีเด่นได้รับรางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนดีเด่นขนาดใหญ่
  • พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการได้มอบรางวัลให้กับโรงเรียนในฐานะเป็นโรงเรียนผู้ดำเนินการใช้หลักสูตรดีเด่น ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • พ.ศ. 2530 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่จัดกิจกรรมจริยศึกษาดีเด่น ส่วนภูมิภาค
  • พ.ศ. 2531 สมาคมบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย ได้ยกย่องผู้บริหารโรงเรียนทุ่งสง (นายศุภมน เสาหฤทวงศ์) เป็นผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ดีเด่นในเขตการศึกษา 3
  • พ.ศ. 2534 เป็นโรงเรียนหน่วยเบิกกรมสามัญศึกษา ประจำคลัง ณ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2536 รับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแบบสหศึกษา โดยเริ่มจากชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 (ในปีการศึกษา 2538 รับนักเรียนแบบสหศึกษา ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายครบทุกระดับชั้น)
  • พ.ศ. 2537 โรงเรียนทุ่งสงเป็นโรงเรียนโครงการร่วมโรงเรียนกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาเข้าร่วมโครงการห้องสมุด กาญจนาภิเษก และโครงการปฏิรูปการศึกษา
  • พ.ศ. 2542 โรงเรียนทุ่งสงได้จัดโครงการร่วมกับสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชจัดเปิดสอนโครงการ กศ.บป.
  • พ.ศ. 2543 โรงเรียนทุ่งสงได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนสีเขียว ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2544 โรงเรียนทุ่งสงได้รับประกาศเกียรติคุณจากกรมสามัญศึกษา ให้เป็นโรงเรียนจัดระบบช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น
  • พ.ศ. 2545 โรงเรียนทุ่งสงได้รับรางวัลปฏิบัติรูปการเรียนดีเด่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พ.ศ. 2547 โรงเรียนทุ่งสงได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเลขาธิการสถานการศึกษาเข้าร่วมโครงการขยายผลการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตพื้นที่ภาคใต้
  • พ.ศ. 2548 โรงเรียนทุ่งสงได้รับงบประมาณจากผู้ว่า CEO ปรับปรุงห้องสมุด IT ได้รับการสนับสนุนตรามโครงการ TOT IT school จากบริษัท TOT และได้จัดสร้าง IT โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองและชุมชน
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนทุ่งสงได้จัดโครงการห้องเรียนพิเศษ ในระดับชั้น ม.1, ม.4
  • พ.ศ. 2549 โรงเรียนทุ่งสงได้เพิ่มการเรียนการสอนภาษาจีน
  • พ.ศ. 2551 โรงเรียนทุ่งสงได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในด้านห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • พ.ศ. 2552 โรงเรียนทุ่งสงได้ลงนามความร่วมมือโรงเรียนมาตรฐานสากล "World Class Standard School"
  • พ.ศ. 2553 โรงเรียนทุ่งสงได้จัดตั้งห้องเรียนอาชีพ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน 4 สาขาวิชาดังต่อไปนี้ - คอมพิวเตอร์ - อุตสาหกรรม - ดนตรี-นาฏศิลป์ - ศิลปะ


ทำเนียบผู้บริหาร

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนทุ่งสงมีผู้บริหาร 12 คน ดังนี้[4]
  1. นายสิริ รัตนะรัตน พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2487 รักษาการแทนครูใหญ่
  2. นายคิด เลิศศิริก้องสมุท พ.ศ. 2487 - พ.ศ. 2487 ครูใหญ่
  3. นายเอก วัฒนกุล พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2495 ครูใหญ่
  4. นายแพ แสงพลสิทธิ์ พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2498 ครูใหญ่
  5. นายสวัสดี ณ พัทลุง พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2507 ครูใหญ่
  6. นายพินิจ นุ่นพันธ์ พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2519 ครูใหญ่
  7. นายศุภมน เสาหฤทวงศ์ พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2531 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  8. นางไสว คงสวัสดิ์ พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2535 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  9. นายสกนธ์ ไชยกาญจน์ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2543 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  10. นายสุรพล หอมหวล พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2547 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  11. นายจำเริญ รัตนบุรี พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2554 ผู้อำนวยการโรงเรียน
  12. นายสนั่น พลรัฐธนาสิทธิ์ พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการโรงเรียน

ตราสัญลักษณ์
พระคเณศ หรือ พระพิฆเนศ[5] เป็นเทพของอินเดีย เป็นเทพประจำความขัดข้อง ตัวเป็นคน หัวเป็นช้าง เป็นผู้ประสาทวิชาเจ็ดประการคือ ช่างปั้น จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ สถาปัตยกรรม วาทศิลป์ และอักษรศาสตร์ ดังนั้นในวรรณคดี เมื่อกวีจะไหว้ครูก็มักจะไหว้พระพิฆเนศด้วยเช่นใน สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นต้น เพื่อจะได้ประสาทความสำเร็จ ให้กับผู้แต่งในการแต่งหนังสือเล่มนั้น นอกจากนั้นดวงตราประจำวรรณคดีสโมสร ก็ใช้รูปพระพิฆเนศ
พระคเณศ เป็นโอรสพระศิวและพระบารพดี ตอนคลอดมีเทพไปแสดงความยินดีมาก รวมทั้ง พระศนิ (พระเสาร์) ซึ่งถูกภรรยาสาปไว้ว่า ถ้าพระศนิมองดูใคร ผู้นั้นจะต้องถึงแก่ความพินาศ จึงไม่กล้ามองกุมาร พระบารพดีไม่ถืออนุญาตให้พระศนิมอง เมื่อพระศนิมองพระกุมารคือ พระคเณศ พระคเณศก็หัวขาด พระวิษณุจึงเหาะไปหาหัวมาต่อให้ พบช้างนอนหลับอยู่ จึงตัดหัวมาต่อให้พระกุมาร พระคเณศจึงมีหัวเป็นช้างตั้งแต่นั้นมา
พระคเณศมีชายาสององค์คือ พุทธิ กับ สิทธิ และมีโอรสสององค์ ชื่อเกษมและลาภ
พระคเณศ บางทีเรียกว่าพระพิฆเนศ พระพิฆเนศวร คือผู้เป็นใหญ่ในความติดขัด หรือเรียกพระสิทธิธาดา หมายถึงผู้อำนวยความสำเร็จ หรือพระเหรัมพ ์คือผู้คุ้มครอง ป้องกัน นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆอีก เช่น
  • พระเอกทันต์ หมายถึง ผู้มีงาเดียว
  • พระมโหทร หมายถึง ผู้มีท้องใหญ่
  • พระลัมพกรรณ หมายถึง ผู้มีหูยาน
  • พระกริมุข หมายถึง หัวเป็นช้าง
นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกเป็นอื่น ๆ อีกมากมาย
โรงเรียนทุ่งสง มีเจตจำนงค์ที่จะผลิตนักเรียน ให้มีความรู้ในศิลปะ วิทยาการอันกล้าแกร่ง พร้อมที่จะออกไปศึกษาต่อ หรือ ประกอบอาชีพ ได้โดยสะดวก จึงได้เลือกเอา รูปพระพิฆเนศ เป็นตราประจำโรงเรียน จนกระทั่งปัจจุบันนี้

ขอบคุณข้อมูลจาก 
-- http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%87#.E0.B8.9B.E0.B8.A3.E0.B8.B0.E0.B8.A7.E0.B8.B1.E0.B8.95.E0.B8.B4

1 ความคิดเห็น:

  1. รักของเราไม่มีมาตรฐานนะ เพราะมันไม่มีวันหมดอายุjoker123

    ตอบลบ